หัวพอตมีกี่รูปแบบ แต่ละแบบมีลักษณะเป็นยังไง 

หัวพอต

ไหนใครพึ่งเปิดโลกเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับหัวพอตว่า คือ อะไร มีกี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบเป็นยังไง? เดี๋ยวเราจะพาไปทำความรู้จัก 

หัวพอตจริง แล้วคือ อะไรกันแน่ 

หัวพอตหรือก็คือหัวแทงก์หรือหัวน้ำยา ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่อยู่บริเวณด้านบนของพอต โดยมีหน้าที่ในการเก็บน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นที่อยู่ของคอยล์ที่มีหน้าที่ในการเผาไหม้เพื่อดึงกลิ่นหรือรสชาติระหว่างการสูบออกมาได้อย่างชัดเจน สามารถพบเห็นได้ทั้งแบบประเภทที่มองเห็นน้ำยาด้านในและแบบทึบมองไม่เห็นน้ำยา 

หัวน้ำยามีกี่รูปแบบ  

สำหรับหัวพอตที่มีการจัดจำหน่ายในท้องตลาดหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ 

1. หัวแบบเติมน้ำยา 

เป็นรูปแบบที่ออกแบบมาให้สามารถเติมน้ำยาได้และไม่มีคอยล์อยู่ในหัว pod วิธีการใช้งานคือ ต้องเติมน้ำยาด้วยตนเองและรอก่อนประมาณ 5 – 10 นาที ถึงจะสามารถสูบได้ ส่วนวิธีการเติมอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับแบรนด์หรือรุ่น  

2. หัวพร้อมคอยล์เติมน้ำยาได้แต่เปลี่ยนคอยล์ไม่ได้  

ความโดดเด่นหลัก ๆ คือ เมื่อซื้อมาแล้วสามารถนำไปติดตั้งกับพอตไฟฟ้าเพื่อสูบได้เลยและใช้ไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าคอยล์จะหมดอายุ และเมื่อหมดอายุแล้วจำเป็นต้องทิ้งเพราะไม่สามารถเปลี่ยนได้ รวมถึงตัวพอตระบบนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้เฉพาะกับพอตไฟฟ้าบางรุ่นเท่านั้น  

3. พอตแบบใช้แล้วทิ้งหรือพอตสำเร็จรูป 

เป็นพอตที่ใส่ทั้งคอยล์, ใส่ทั้งน้ำยาและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาอย่างครบครัน ทำให้เวลานำไปใช้งานนั้นง่ายมาก ๆ แค่นำไปติดตั้งกับพอตบุหรี่ไฟฟ้าก็พร้อมสูบได้เลย หรือที่ใครหลายคนเรียกว่าพอตระบบปิด ข้อดี คือ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ว่าควรใช้คอยล์แบบไหน, ขนาดเท่าไหร่หรือเติมน้ำยาตอนไหน  

ควรเลือกแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ความต้องการ 

หากถามว่าควรเลือกหัวพอตแบบไหนจะตอบโจทย์ความต้องการ ต้องเริ่มต้นถามจากความต้องการของคุณเองว่าอยากได้ประสบการณ์แบบไหน 

  • อยากได้ความสะดวกสบายและง่ายในการใช้งาน ขอแนะนำหัวแบบสำเร็จรูปหรือพอตใช้แล้วทิ้ง ค่อนข้างใช้งานง่ายแค่ใช้จนกว่าจะหมดอายุการใช้งานก็ทิ้งได้เลย  
  • อยากสวมวิญญาณนักประดิษฐ์หรือนัก DIY การเลือกหัวแบบเติมน้ำยาเองได้ถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มาก ๆ เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้วิธีการเติมน้ำยาแล้ว ยังต้องศึกษาวิธีการเลือกคอยล์ให้ตอบโจทย์การใช้งานหรือฟิลการสูบด้วย 

สรุปได้ว่าหัวพอตหลัก ๆ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 รูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ก่อนเลือกใช้งานจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองจริง ๆ โดยเฉพาะด้านงบประมาณ เนื่องจากราคาแต่ละระบบแตกต่างกันไป